
เช้าวันนี้(10 ก.พ.58) พระอาจารย์ภาณุวิชญ์ อโสโก
ได้เดินทางมาบริจาคสื่อภาพยนต์เพื่อฝึกทักษะ
ทางด้านภาษาด้วยสื่อบันเทิงเชิงสร้างสรรค์ 3 ภาษา ประกอบด้วยภาษาจีน - ภาษาอังกฤษ - ภาษาไทย ซึ่งเป็นการปริจาคะ ในช่วงเทศกาลชิวอิก หรือวันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่จีน
ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
16-17 วันจ่าย
18 วันไหว้
19 วันเที่ยว (ชิวอิก)
______ขอให้ท่านเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป______
ทางด้านภาษาด้วยสื่อบันเทิงเชิงสร้างสรรค์ 3 ภาษา ประกอบด้วยภาษาจีน - ภาษาอังกฤษ - ภาษาไทย ซึ่งเป็นการปริจาคะ ในช่วงเทศกาลชิวอิก หรือวันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่จีน
ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
16-17 วันจ่าย
18 วันไหว้
19 วันเที่ยว (ชิวอิก)
______ขอให้ท่านเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป______

๒๖๐ ปีพุทธศาสนาสยามวงศ์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผอ.สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ(IABU), ผอ.สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ต้อนรับพระสงฆ์ชาวศรีลังกาที่บรรพชาอุปสมบทในประเทศไทยจำนวน ๑๐๐ รูป อุบาสิกาจำนวน ๗ คน เป็นโครงการร่วมเฉลิมฉลอง ๒๖๐ ปีแห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในประเทศศรีลังกา และบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์กับความสัมพันธ์แห่งสันติภาพระหว่างประเทศทั้งสองที่มีต่อกันมาช้านาน และส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญอย่างยั่งยืนสืบต่อไปรวมถึงการพัฒนาหน่อเนื้อพระพุทธศนานาให้เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนิก-สัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่มีต่อกันมาช้านาน และส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญ ยั่งยืน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย ณ ห้องสันติภาพ อาคารเรียนรวม ชั้น ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ประสบ สุระพินิจ : รายงาน
__________________________________________________________________________________________________________________________________
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผอ.สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ(IABU), ผอ.สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ต้อนรับพระสงฆ์ชาวศรีลังกาที่บรรพชาอุปสมบทในประเทศไทยจำนวน ๑๐๐ รูป อุบาสิกาจำนวน ๗ คน เป็นโครงการร่วมเฉลิมฉลอง ๒๖๐ ปีแห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในประเทศศรีลังกา และบรรยายเรื่องพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์กับความสัมพันธ์แห่งสันติภาพระหว่างประเทศทั้งสองที่มีต่อกันมาช้านาน และส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญอย่างยั่งยืนสืบต่อไปรวมถึงการพัฒนาหน่อเนื้อพระพุทธศนานาให้เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนิก-สัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองที่มีต่อกันมาช้านาน และส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญ ยั่งยืน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย ณ ห้องสันติภาพ อาคารเรียนรวม ชั้น ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ประสบ สุระพินิจ : รายงาน
__________________________________________________________________________________________________________________________________
สมศ.ตรวจเยี่ยมWizpark

เมื่อวันพุธที่ 13 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เข้าตรวจประเมินคุณภาพ ณ ห้องสมุดสถาบันภาษาฯ (WIZPARK) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กาลเดียวกันนี้ทางสถาบันภาษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบของที่ระลึกแก่คณะผู้ประเมินจาก สมศ. โดยพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล และผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง คณะสังคมศาสตร์ เป็นผู้มอบ
กาลเดียวกันนี้ทางสถาบันภาษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มอบของที่ระลึกแก่คณะผู้ประเมินจาก สมศ. โดยพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล และผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง คณะสังคมศาสตร์ เป็นผู้มอบ
"พงศ์เทพ" ลั่น 6 ปี คนไทยอ่านออกเขียนได้ 100%

ศธ.วางยุทธศาสตร์ 6 ปี ตั้งเป้าปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มเป็น 15 ปี อ่านออกเขียนได้ 100 %
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแผนปฏิบัติการสำหรับยุทธศาสตร์ประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2556-2561 ของ ศธ. ซึ่งมียุทธศาสตร์สำคัญคือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานคือ ปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ปี อัตราการอ่านออกเขียนได้อยู่ที่ร้อยละ 100 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี สถานศึกษาผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ร้อยละ 100 และการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 50:50 นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เรียนสายอาชีวะสามารถเรียนต่อได้ถึงปริญญาตรีจะช่วยยกระดับจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้เพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2559
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ที่มีการเตรียมการยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาอังกฤษ การเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายในประชาคมอาเซียน การเปิดเสรีและการลงทุนของสถานศึกษาเอกชนในอาเซียน
"นอกจากนี้ยังมีการเสนอแผนปฏิบัติราชการการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2556-2557 ของศธ.และยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ที่มีประเด็นสำคัญคือการให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการจัดการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการเสนอความต้องการงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2557 ของ ศธ.ประมาณ 128,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการจัดทำคำของบประมาณ เพื่อเสนอไปยังสำนักงบประมาณต่อไป" นายพงศ์เทพ กล่าว
อนึ่ง ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชาชนคนไทย หรือ ค่าเฉลี่ยคนไทยได้รับการศึกษาทั่วประเทศเมื่อปี 2553 อยู่ที่ 8 ปี (จบม.2)แต่ผลสำรวจของสำนักงานสภาการศึกษาล่าสุดเมื่อปี 2554 ค่าเฉลี่ยการ ศึกษาของคนไทยเพิ่มเป็น9.1 ปี หรือเรียนจบชั้น ม.3 กว่าๆ ส่วนปี2555 ยังไม่สรุปผลการสำรวจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.bangkokbiznews.com
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแผนปฏิบัติการสำหรับยุทธศาสตร์ประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2556-2561 ของ ศธ. ซึ่งมียุทธศาสตร์สำคัญคือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานคือ ปีการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 15 ปี อัตราการอ่านออกเขียนได้อยู่ที่ร้อยละ 100 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี สถานศึกษาผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ร้อยละ 100 และการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 50:50 นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เรียนสายอาชีวะสามารถเรียนต่อได้ถึงปริญญาตรีจะช่วยยกระดับจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้เพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2559
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาภายใต้ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ที่มีการเตรียมการยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาอังกฤษ การเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายในประชาคมอาเซียน การเปิดเสรีและการลงทุนของสถานศึกษาเอกชนในอาเซียน
"นอกจากนี้ยังมีการเสนอแผนปฏิบัติราชการการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2556-2557 ของศธ.และยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ที่มีประเด็นสำคัญคือการให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการจัดการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการเสนอความต้องการงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2557 ของ ศธ.ประมาณ 128,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการจัดทำคำของบประมาณ เพื่อเสนอไปยังสำนักงบประมาณต่อไป" นายพงศ์เทพ กล่าว
อนึ่ง ปีการศึกษาเฉลี่ยของประชาชนคนไทย หรือ ค่าเฉลี่ยคนไทยได้รับการศึกษาทั่วประเทศเมื่อปี 2553 อยู่ที่ 8 ปี (จบม.2)แต่ผลสำรวจของสำนักงานสภาการศึกษาล่าสุดเมื่อปี 2554 ค่าเฉลี่ยการ ศึกษาของคนไทยเพิ่มเป็น9.1 ปี หรือเรียนจบชั้น ม.3 กว่าๆ ส่วนปี2555 ยังไม่สรุปผลการสำรวจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.bangkokbiznews.com
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ห้องสมุดพุทธศาสนายุคใหม่ต้องใช้ไอที

จากผลการประชุมทางวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกันประจำปี พ.ศ. 2555 เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับพระพุทธศาสนา” หรือ ICT for All Symposium 2012 on “ICT and Buddhism” เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ห้องประชุม ชั้น 5 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจัดโดยชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club -- www.ictforall.org) และภาคีองค์กรร่วมจัดได้แก่ สภาองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย สมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย สภาพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองและสมาคมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งประเทศไทย
โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางไปทั่วโลกภายใต้บริบทและแนวโน้มของประชากรโลกที่จะใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งเครืองคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้น ประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก แต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ รวมทั้ง ไม่เป็นการบิดเบือนพระธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฏก
ดังนั้นที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีดังนี้
1. ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดพระพุทธศาสนาโลก (www.buddhist-elibrary.org) ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
2. การฝึกอบรมแก่พระสงฆ์ สามเณร และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมถึงกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สำหรับพระสงฆ์ สามเณร
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้วัด สำนักสงฆ์ที่มีความพร้อมเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน และเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านระบบ e-Learning รวมถึงจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย
4. พัฒนา Course Ware หรือแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ สำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เผยแพร่ในทุกระดับชั้นการศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
5. สนับสนุนให้วัดต่างๆ ทั่วประเทศ มีเว็บไซต์ของวัด เพื่อเป็นการสื่อสารสองทางกับประชาชน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้คนมีความใกล้ชิดธรรมะมากขึ้น ทั้งนี้ โดยภาครัฐควรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์และการเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์
6. ควรมีองค์กรและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและตรวจสอบเนื้อหาของธรรมะที่เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเนื้อหานั้น มีความถูกต้องตามพระไตรปิฎก
7. สนับสนุนให้มีการแปลหนังสือธรรมะเป็นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แล้วนำขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ หรือในรูปแบบ e-Book เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศสามารถเข้ามาศึกษาได้
เมื่อดำเนินการได้ดังนี้แล้ว ก็เชื่อได้ว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่กับมนุษยชาติสืบต่อไป ดังพระสัมโมทนียถาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกซึ่งอัญเชิญมาจากพระสัมโมทนียกถาที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกประทานแก่ พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล นายกสมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และรองประธานกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เพื่อนำพิมพ์ลงในหนังสือ “คำสอนในพระพุทธศาสนา (The Buddha’s Teachings)”เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า
“...ปัจจุบัน แม้ว่าจะได้มีการแปลหลักธรรมคำสอนออกเป็นภาษาต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ และมีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ เป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก จนอาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่ธรรมะไปไกล ไปถึงทุกประเทศทุกมุมโลก
แต่ทว่าความต้องการศึกษาค้นคว้าธรรมะ ยังไม่มีที่สิ้นสุด เห็นได้จากผลสำรวจของสมาคมบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตที่พบว่าตามโรงแรมและสถานพักผ่อนหย่อนใจแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ติดต่อธุรกิจและการงานต่างๆ รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก และในประเทศไทยเองยังขาดแคลนสื่อธรรมะในการหลักธรรม เมื่อเทียบกับศาสนาอื่นๆ
ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศชั้นนำที่เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดการรวมตัวระหว่างเครือข่ายคณะสงฆ์และคฤหัสถ์เพื่อร่วมกันบริจาค ผลิตสื่อคำสอนและหลักธรรมคำสอนที่เข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อนให้ปรากฏทุกหนทุกแห่งทั่วโลกอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนที่สมควรผลักดันและสนับสนุนให้เป็นนโยบายของประเทศในการเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ทุกภาคส่วนของประชาคมโลก...”
ข้อมูลจาก : คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 04-12-2555
คัดลอกจาก : สำราญ สมพงษ์
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
__________________________________________________________________________________________________________________________________
โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางไปทั่วโลกภายใต้บริบทและแนวโน้มของประชากรโลกที่จะใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งเครืองคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้น ประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก แต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ต้องเป็นไปอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ รวมทั้ง ไม่เป็นการบิดเบือนพระธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนาตามพระไตรปิฏก
ดังนั้นที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีดังนี้
1. ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดพระพุทธศาสนาโลก (www.buddhist-elibrary.org) ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
2. การฝึกอบรมแก่พระสงฆ์ สามเณร และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อการเข้าถึงและเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมถึงกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม ถูกต้องตามพระธรรมวินัย สำหรับพระสงฆ์ สามเณร
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้วัด สำนักสงฆ์ที่มีความพร้อมเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน และเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านระบบ e-Learning รวมถึงจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย
4. พัฒนา Course Ware หรือแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ สำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เผยแพร่ในทุกระดับชั้นการศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
5. สนับสนุนให้วัดต่างๆ ทั่วประเทศ มีเว็บไซต์ของวัด เพื่อเป็นการสื่อสารสองทางกับประชาชน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้คนมีความใกล้ชิดธรรมะมากขึ้น ทั้งนี้ โดยภาครัฐควรเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์และการเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของเว็บไซต์
6. ควรมีองค์กรและผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและตรวจสอบเนื้อหาของธรรมะที่เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเนื้อหานั้น มีความถูกต้องตามพระไตรปิฎก
7. สนับสนุนให้มีการแปลหนังสือธรรมะเป็นภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แล้วนำขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ หรือในรูปแบบ e-Book เพื่อให้ผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศสามารถเข้ามาศึกษาได้
เมื่อดำเนินการได้ดังนี้แล้ว ก็เชื่อได้ว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่กับมนุษยชาติสืบต่อไป ดังพระสัมโมทนียถาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกซึ่งอัญเชิญมาจากพระสัมโมทนียกถาที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกประทานแก่ พลเอก ธงชัย เกื้อสกุล นายกสมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และรองประธานกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เพื่อนำพิมพ์ลงในหนังสือ “คำสอนในพระพุทธศาสนา (The Buddha’s Teachings)”เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ความสำคัญตอนหนึ่งว่า
“...ปัจจุบัน แม้ว่าจะได้มีการแปลหลักธรรมคำสอนออกเป็นภาษาต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ และมีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ เป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก จนอาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่ธรรมะไปไกล ไปถึงทุกประเทศทุกมุมโลก
แต่ทว่าความต้องการศึกษาค้นคว้าธรรมะ ยังไม่มีที่สิ้นสุด เห็นได้จากผลสำรวจของสมาคมบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตที่พบว่าตามโรงแรมและสถานพักผ่อนหย่อนใจแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ติดต่อธุรกิจและการงานต่างๆ รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก และในประเทศไทยเองยังขาดแคลนสื่อธรรมะในการหลักธรรม เมื่อเทียบกับศาสนาอื่นๆ
ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศชั้นนำที่เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดการรวมตัวระหว่างเครือข่ายคณะสงฆ์และคฤหัสถ์เพื่อร่วมกันบริจาค ผลิตสื่อคำสอนและหลักธรรมคำสอนที่เข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อนให้ปรากฏทุกหนทุกแห่งทั่วโลกอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นภารกิจสำคัญที่จำเป็นเร่งด่วนที่สมควรผลักดันและสนับสนุนให้เป็นนโยบายของประเทศในการเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ทุกภาคส่วนของประชาคมโลก...”
ข้อมูลจาก : คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 04-12-2555
คัดลอกจาก : สำราญ สมพงษ์
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
__________________________________________________________________________________________________________________________________
บริจาคในวันคล้ายวันเกิด

บ่ายวันนี้ (22 พฤศจิกายน 2555) เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระอาจารย์ภาณุวิชญ์ อโสโก
ผู้มีจิตอันเป็นกุศล แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากภาระกิจการสอนในตอนเช้า ยังสละเวลาเดินทางมาถึงวังน้อย เพื่อบริจาคดีวีดีภาพยนตร์ และหนังสือให้ห้องสมุดสถาบันภาษา ยังเดินทางไปบริจาค คิลานเภสัช เพื่อเป็นยารักษาโรคให้แก่พระภิกษุสงฆ์ มจร.อีกด้วย
"วันเวลาผันเปลี่ยนเวียนมาครบ
มาบรรจบอีกครั้งในวันนี้
ขออวยพรให้สุขสวัสดี
สุขภาพดี ปราศโศก ทุกข์โรคภัย"
มุทิตาสักการะ ในวันคล้ายวันเกิดครับ
_____________________________________________________________________________________________________
ผู้มีจิตอันเป็นกุศล แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากภาระกิจการสอนในตอนเช้า ยังสละเวลาเดินทางมาถึงวังน้อย เพื่อบริจาคดีวีดีภาพยนตร์ และหนังสือให้ห้องสมุดสถาบันภาษา ยังเดินทางไปบริจาค คิลานเภสัช เพื่อเป็นยารักษาโรคให้แก่พระภิกษุสงฆ์ มจร.อีกด้วย
"วันเวลาผันเปลี่ยนเวียนมาครบ
มาบรรจบอีกครั้งในวันนี้
ขออวยพรให้สุขสวัสดี
สุขภาพดี ปราศโศก ทุกข์โรคภัย"
มุทิตาสักการะ ในวันคล้ายวันเกิดครับ
_____________________________________________________________________________________________________
สัมมนาสุขภาพพระสงฆ์

นพ.อาชวิน ถวายความรู้เพื่อสุขภาพแด่พระสงฆ์ มจร. : ปรสบ สุระพินิจ: ภาพ
เมื่อวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2555 สถาบันภาษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ นพ.อาชวิน สตางค์มงคล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรม โรคผิวหนัง และศาสตร์การแพทย์เวชศาสตร์และฟื้นฟูสุขภาพ และคุณมลวิภา โสมานันท์ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสารอาหารเพื่อการดูและสุขภาพ ห่วงใยสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ จึงจัดสัมมนาแทนความห่วงใยนี้ด้วยหัวข้อ
"มหัตภัยโรคร้ายใกล้ตัว พระภิกษุสงฆ์มีทางออกจริงหรือไม่"
โดยเนื้อหาหลักของการสัมมนาครั้งนี้เป็นความห่วงใยทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย ในพระสงฆ์ โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม เมื่อเกิดกับพระภิกษุสงฆ์แล้วควรปฏิบิติอย่างไรเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง การจัดครั้งนี้มีขึ้นที่อาคารเรียนรวมชั้น 4 ห้อง VIP สถาบันภาษาฯ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสนใจจำนวนมาก
ประสบ สุระพินิจ รายงาน
*************************************************************************************************************************************************************************************
"มหัตภัยโรคร้ายใกล้ตัว พระภิกษุสงฆ์มีทางออกจริงหรือไม่"
โดยเนื้อหาหลักของการสัมมนาครั้งนี้เป็นความห่วงใยทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย ในพระสงฆ์ โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม เมื่อเกิดกับพระภิกษุสงฆ์แล้วควรปฏิบิติอย่างไรเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง การจัดครั้งนี้มีขึ้นที่อาคารเรียนรวมชั้น 4 ห้อง VIP สถาบันภาษาฯ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้ความสนใจจำนวนมาก
ประสบ สุระพินิจ รายงาน
*************************************************************************************************************************************************************************************
เยี่ยมชม

วานนี้ (6 กรกฎาคม 2555) ผศ.มั่น เสือสูงเนิน อาจารย์ประจำภาควิชาพระพุทธศาสนา ได้นำคณะนิสิต
ภาควิชาพระพุทธศาสนา เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดสถาบันภาษา (WIZPARK)โดยมีนายประสบ สุระพินิจ บรรณารักษ์ ห้องสมุด
วิชพาร์ค ให้การต้อนรับ แนะนำการใช้สื่อการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับหลักพุทธศาสนาและวิธีการใช้สื่อเพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีนใน Wizpark ด้วย
*************************************************************************************************************************************************************************************
ภาควิชาพระพุทธศาสนา เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดสถาบันภาษา (WIZPARK)โดยมีนายประสบ สุระพินิจ บรรณารักษ์ ห้องสมุด
วิชพาร์ค ให้การต้อนรับ แนะนำการใช้สื่อการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับหลักพุทธศาสนาและวิธีการใช้สื่อเพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีนใน Wizpark ด้วย
*************************************************************************************************************************************************************************************
การอ่านเป็นวาระแห่งชาติจริงหรือ ?

รัฐบาลให้ความสำคัญ รณรงค์(จริงหรือเปล่า)และส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่าน โดยถือเป็นวาระแห่งชาติ
รายงานจากสำนักสถิติแห่งชาติพบว่า การอ่านหนังสือของเด็กไทยจากเดิม 52 นาทีต่อวัน เหลือเพียง 39 นาที เนื่องจากเด็ก
และเยาวชน ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นคอมพิวเตอร์ แชทบนมือถือ และดูโทรทัศน์มากขึ้น
โดยจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เด็กไทยรักการอ่านมากขึ้น เช่น การให้ความสำคัญกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย ซึ่งนำไปสู่
"การให้คะแนนในการเรียนการสอน ในหลักสูตรใหม่ก็ได้กำหนดให้มีชั่วโมงส่งเสริมการอ่าน"
(ในมหาจุฬาฯ หรือมจร. ได้ตระหนักในสิ่งนี้หรือไม่ยังเป็นข้อสงสัยของผู้เขียน)
นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดทำโครงการห้องสมุด 3 D ขึ้น ประกอบด้วย หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี
โดยจะเริ่มในโรงเรียนทุกระดับ และสถาบันอาชีวศึกษา
อีกทั้งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน และรู้
หนังสือ ภายในปี 2555
ณ วันนี้คือปี 2555 แลัวรัฐบาลและประชาชนคนไทยทำได้ตามแผนมากน้อยแค่ไหน หน่วยงานใดเป็นผู้ติดตามและรับผิดชอบสำหรับในมุมของฝ่ายบรรพชิตและผู้สนใจในรูปแบบการศึกษาธรรมะในรั้วมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วังน้อย ผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดสถาบันภาษา 'WIZPARK' แยกได้หลายรูปแบบและพฤติกรรมแต่ละชนชาติที่เข้ามาใช้บริการ
- พระสงฆ์ไทย เข้ามาศึกษาหาความรู้ก็มีมาก มาเล่นเฟสบุ๊คก็ส่วนหนึ่ง อ่านหนังสือก็มีมาก มีหลากหลาย
- พระสงฆ์เวียดนาม โดยส่วนใหญ่เข้ามาอ่านหนังสือและยืมหนังสือ ดูจากพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด Wizpark พระและภิกษุณีชาวเวียดนามจะขยันอ่านหนังสือมากที่สุดสนใจใฝ่หาความรู้มาก
- พระจากประเทศอื่นๆ ก็คละกันไปแต่มีหลายๆ รูปที่ชอบดูภาพยนตร์ที่เสียงพากษ์เป็นภาษาไทย แต่เป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากที่ภาพยนตร์ไทยไม่มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการ Wizpark ต้องการมาก
ขอเชิญชวนทุกท่านที่มีจิตศรัทธาอยากบริจาคสื่อเพื่อการศึกษาเหล่านี้ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นภาพยนตร์เท่านั้น อื่นๆก็ยินดีถ้าหากเป็นสิ่งประเทืองปัญญาพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่พระสงฆ์ โดยห้องสมุด Wizpark เป็นสถานที่ ที่พระสงฆ์ชาวต่างชาติผู้เข้ามาเรียนในประเทศไทยได้หาประสบการณณ์จากการดูและฟัง เพราะพระภิกษุจะออกไปหาประสบการณ์โดยตรงจากสังคมเช่นคฤหัสถ์ทั่วๆ ไปคงไม่เหมาะ ดังนั้นขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาอยากเห็นความก้าวหน้าของทายาทพระศาสดาในหลายๆ ด้าน เพื่อการพัฒนาผู้เผยแผ่ธรรมให้ทันต่อความเป็นไปของโลก และจริตของมนุษย์ในสังคม จะได้ประยุกต์วิธีการสอนธรรมะให้ทันต่อสถานการณ์เสมอ
ประสบ สุระพินิจ
รายงานจากสำนักสถิติแห่งชาติพบว่า การอ่านหนังสือของเด็กไทยจากเดิม 52 นาทีต่อวัน เหลือเพียง 39 นาที เนื่องจากเด็ก
และเยาวชน ส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นคอมพิวเตอร์ แชทบนมือถือ และดูโทรทัศน์มากขึ้น
โดยจะต้องสร้างแรงจูงใจให้เด็กไทยรักการอ่านมากขึ้น เช่น การให้ความสำคัญกับการอ่านและการเขียนภาษาไทย ซึ่งนำไปสู่
"การให้คะแนนในการเรียนการสอน ในหลักสูตรใหม่ก็ได้กำหนดให้มีชั่วโมงส่งเสริมการอ่าน"
(ในมหาจุฬาฯ หรือมจร. ได้ตระหนักในสิ่งนี้หรือไม่ยังเป็นข้อสงสัยของผู้เขียน)
นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดทำโครงการห้องสมุด 3 D ขึ้น ประกอบด้วย หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี
โดยจะเริ่มในโรงเรียนทุกระดับ และสถาบันอาชีวศึกษา
อีกทั้งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน และรู้
หนังสือ ภายในปี 2555
ณ วันนี้คือปี 2555 แลัวรัฐบาลและประชาชนคนไทยทำได้ตามแผนมากน้อยแค่ไหน หน่วยงานใดเป็นผู้ติดตามและรับผิดชอบสำหรับในมุมของฝ่ายบรรพชิตและผู้สนใจในรูปแบบการศึกษาธรรมะในรั้วมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วังน้อย ผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดสถาบันภาษา 'WIZPARK' แยกได้หลายรูปแบบและพฤติกรรมแต่ละชนชาติที่เข้ามาใช้บริการ
- พระสงฆ์ไทย เข้ามาศึกษาหาความรู้ก็มีมาก มาเล่นเฟสบุ๊คก็ส่วนหนึ่ง อ่านหนังสือก็มีมาก มีหลากหลาย
- พระสงฆ์เวียดนาม โดยส่วนใหญ่เข้ามาอ่านหนังสือและยืมหนังสือ ดูจากพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด Wizpark พระและภิกษุณีชาวเวียดนามจะขยันอ่านหนังสือมากที่สุดสนใจใฝ่หาความรู้มาก
- พระจากประเทศอื่นๆ ก็คละกันไปแต่มีหลายๆ รูปที่ชอบดูภาพยนตร์ที่เสียงพากษ์เป็นภาษาไทย แต่เป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากที่ภาพยนตร์ไทยไม่มีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการ Wizpark ต้องการมาก
ขอเชิญชวนทุกท่านที่มีจิตศรัทธาอยากบริจาคสื่อเพื่อการศึกษาเหล่านี้ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นภาพยนตร์เท่านั้น อื่นๆก็ยินดีถ้าหากเป็นสิ่งประเทืองปัญญาพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่พระสงฆ์ โดยห้องสมุด Wizpark เป็นสถานที่ ที่พระสงฆ์ชาวต่างชาติผู้เข้ามาเรียนในประเทศไทยได้หาประสบการณณ์จากการดูและฟัง เพราะพระภิกษุจะออกไปหาประสบการณ์โดยตรงจากสังคมเช่นคฤหัสถ์ทั่วๆ ไปคงไม่เหมาะ ดังนั้นขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาอยากเห็นความก้าวหน้าของทายาทพระศาสดาในหลายๆ ด้าน เพื่อการพัฒนาผู้เผยแผ่ธรรมให้ทันต่อความเป็นไปของโลก และจริตของมนุษย์ในสังคม จะได้ประยุกต์วิธีการสอนธรรมะให้ทันต่อสถานการณ์เสมอ
ประสบ สุระพินิจ
THANK YOU LETTER TO DONATORS & SUPPORTERS

ดร. ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์
ในนามห้องสมุดสถาบันภาษา มจร.ขอแสดงความขอบคุณถึง ดร.ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์ ที่ท่านได้บริจาคหนังสือ
1. Linguistic Grammar of English
2. Academic Writing in English for Asian Students and Researchers
3. I Left My Love in Delhi : 30-Day Diary of a Young Thai Man Madly in Love Abroad
4. Loquor, Ergo Sum I Speake, Therefore, I Exist
5. English for Business Meeting : International Contexts.
ทั้งนี้ทางห้องสมุดสถาบันภาษามหาจุฬาฯ (WIZPARK) ขอบขอบพระคุณยิ่งที่ท่านมีใจอันประเสริฐ ที่ได้
บริจาคหนังสือเป็นวิทยาทานให้พระสงฆ์และผู้สนใจไฝ่ศึกษาด้านภาษาต่างประเทศ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
จะได้ความอนุเคราะห์ ความร่วมมือ ร่วมใจ จากท่านอีกในอนาคต
ด้วยตวามเคารพอย่างสูง
นายประสบ สุระพินิจ
บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันภาษา มจร.
WIZPARK
1. Linguistic Grammar of English
2. Academic Writing in English for Asian Students and Researchers
3. I Left My Love in Delhi : 30-Day Diary of a Young Thai Man Madly in Love Abroad
4. Loquor, Ergo Sum I Speake, Therefore, I Exist
5. English for Business Meeting : International Contexts.
ทั้งนี้ทางห้องสมุดสถาบันภาษามหาจุฬาฯ (WIZPARK) ขอบขอบพระคุณยิ่งที่ท่านมีใจอันประเสริฐ ที่ได้
บริจาคหนังสือเป็นวิทยาทานให้พระสงฆ์และผู้สนใจไฝ่ศึกษาด้านภาษาต่างประเทศ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
จะได้ความอนุเคราะห์ ความร่วมมือ ร่วมใจ จากท่านอีกในอนาคต
ด้วยตวามเคารพอย่างสูง
นายประสบ สุระพินิจ
บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันภาษา มจร.
WIZPARK
มหาดไทยจัดงานพุทธชยันตี 2,600 ปี อย่างยิ่งใหญ่

กระทรวงมหาดไทย เตรียมจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันที่ 29
พ.ค.นี้ ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม นายนิวัฒน์ธำรง
บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี เป็นประธานการจัดงานฉลองพุทธขยันตี 2,600 ปีแห่ง
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่จะครบรอบในวันวิสาขบูชา โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นวัน
สำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พร้อมยังมอบแนวทางการจัดกิจกรรม 'หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งอำเภอ
หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งพุทธบูชา'เพ่ือถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสสำคัญทาง
พุทธศาสนาด้วย
ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้จังหวัดร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมถวายเป็นพุทธบูชาระดับจังหวัด ให้อำเภอร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนในพื้นที่อำเภอ จัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ การจัดงานส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้จังหวัดเชียงใหม่
เป็นศูนย์กลางภาคเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางภาคใต้ จังหวัดปทุมธานีเป็นศูนย์กลางภาคกลาง และจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ โดยเตรียมจัดรถเอกลักษณ์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเข้าร่วมในขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ก่อนถ่าย
ทอดสดกิจกรรมเวียนเทียนพร้อมกันทั่วประเทศซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีความก้าวหน้ามากกว่า 80%แล้ว รวมทั้งได้จัดมวลชนเข้าร่วมในขบวนจำนวน 4,000 คน
โครงการอุปสมบทหมู่ 199 รูป ปัจจุบันทางจังหวัดได้ส่งรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวมายังกระทรวงมหาดไทยแล้วจำนวน148 ราย พร้อมมอบหมายให้
ทุกจังหวัดจัดตั้งองค์ผ้าป่ามหากุศลพุทธชยันตี 2,600ปี รวบรวมเงินบริจาคของทุกหน่วยงานในจังหวัดก่อนส่งให้ทางกระทรวงฯเพื่อมอบให้สำนักงานศูนย์ส่งเสริม
พระพุทธศาสนาต่อไป
ขอบคุณที่มา : ครอบครัวข่าสาม www.krobkruakao.com
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พ.ค.นี้ ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม นายนิวัฒน์ธำรง
บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี เป็นประธานการจัดงานฉลองพุทธขยันตี 2,600 ปีแห่ง
การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่จะครบรอบในวันวิสาขบูชา โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นวัน
สำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พร้อมยังมอบแนวทางการจัดกิจกรรม 'หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งอำเภอ
หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งพุทธบูชา'เพ่ือถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสสำคัญทาง
พุทธศาสนาด้วย
ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้จังหวัดร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมถวายเป็นพุทธบูชาระดับจังหวัด ให้อำเภอร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนในพื้นที่อำเภอ จัดกิจกรรมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ การจัดงานส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้จังหวัดเชียงใหม่
เป็นศูนย์กลางภาคเหนือ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางภาคใต้ จังหวัดปทุมธานีเป็นศูนย์กลางภาคกลาง และจังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ โดยเตรียมจัดรถเอกลักษณ์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเข้าร่วมในขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ก่อนถ่าย
ทอดสดกิจกรรมเวียนเทียนพร้อมกันทั่วประเทศซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีความก้าวหน้ามากกว่า 80%แล้ว รวมทั้งได้จัดมวลชนเข้าร่วมในขบวนจำนวน 4,000 คน
โครงการอุปสมบทหมู่ 199 รูป ปัจจุบันทางจังหวัดได้ส่งรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวมายังกระทรวงมหาดไทยแล้วจำนวน148 ราย พร้อมมอบหมายให้
ทุกจังหวัดจัดตั้งองค์ผ้าป่ามหากุศลพุทธชยันตี 2,600ปี รวบรวมเงินบริจาคของทุกหน่วยงานในจังหวัดก่อนส่งให้ทางกระทรวงฯเพื่อมอบให้สำนักงานศูนย์ส่งเสริม
พระพุทธศาสนาต่อไป
ขอบคุณที่มา : ครอบครัวข่าสาม www.krobkruakao.com
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พุทธชยันตีหมายความว่าอะไร?

พุทธชยันตี โดยรากศัพท์ของคำว่าชยันตีมาจากคำว่า “ชย” คือชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตีจึงมีความหมายว่าเป็น การตรัสรู้และการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคม จนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต่ำมากๆ
ที่มาและความสำคัญ
พุทธชยันตี (बुद्ध जयंती, Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง
พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธนานาชาติอย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.2500 (ถือกันว่าเป็นกึ่งพุทธกาล) แต่สันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้ ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2491 และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟูพุทธสาสนาในประเทศอินเดีย โดยมีการนำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมพ.ศ. 2499 (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็นพ.ศ.2500 เร็วกว่าไทย 1 ปี) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศอินเดียยังได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ด้วย
สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น
สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด “ฉัฏฐสังคีติ” คือการสังคายนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 6 แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก
สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา 2554 – วิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2554 ที่ผ่านมานี้ (17 พ.ค.2554) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2599 ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2,600 แห่งการตรัสรู้ โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพาน บวกด้วย 45 อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน (สูตรการคำนวณ จำนวนปีการตรัสรู้ = ปี พ.ศ. 45) ดังนั้นในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.2555 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ 2,600 ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี (2553-2555) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดียเป็นต้นได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกาก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า 2 ปีที่ผ่านมาในวงจำกัด ส่วนในระดับรัฐบาล สมควรที่รัฐบาลไทยจะประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช 2555 นี้ อย่างเป็นทางการ
ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว พุทธชยันตี หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ดับกิเลสและชนะมาร คือกิเลสหมดทั้งปวง เมื่อถึง ปี 2555 ก็เท่ากับ ครบ 2,600 ปีที่ตรัสรู้และดับกิเลส ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2600 เป็นปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 2600 ปี แต่เป็นปีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ชนะกิเลสทั้งปวง 2645 ปี ถ้าจะเรียก พุทธชยันตี ก็คือ ในปี 2600 ฉลองพุทธชยันตีที่พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสทั้งปวง ครบ 2645 ปี
ซึ่งโดยส่วนมาก การจัดฉลองพุทธชยันตี จะจัดขึ้นเมื่อตัวเลขบริบูรณ์ เช่น ครบ 2,600 ปี ที่ทรงตรัสรู้ดับกิเลส เมื่อปี พ.ศ. 2555 หรือครบพระพุทธศาสนา 2,500 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20198
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
*************************************************************************************************************************************************************************************
ในปัจจุบันพุทธชยันตียังถูกตีความในความหมายถึงชัยชนะของพุทธศาสนาและชาวพุทธด้วย เช่น การได้รับเอกราชและมีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นครั้งแรกของชาวพุทธในประเทศศรีลังกา การฉลองปีใหม่ชาวพุทธโดยไม่มีเหล้าสุรายาเสพติดสิ่งมึนเมาทั่วทั้งประเทศศรีลังกา การเอาชนะสิ่งเลวร้ายในสังคม จนทำให้ประเทศศรีลังกามีสถิติอาชญากรรมต่ำมากๆ
ที่มาและความสำคัญ
พุทธชยันตี (बुद्ध जयंती, Buddha Jayanti) เป็นชื่อเรียกงานเฉลิมฉลองหรือพิธีบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในวาระแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับ วันวิสาขบูชาในประเทศไทยนั่นเอง
พุทธชยันตีนี้เป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธนานาชาติอย่างในประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.2500 (ถือกันว่าเป็นกึ่งพุทธกาล) แต่สันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้นงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตีนี้ ภายหลังจากที่ประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2491 และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ได้ฟื้นฟูพุทธสาสนาในประเทศอินเดีย โดยมีการนำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมพ.ศ. 2499 (อินเดีย ศรีลังกา นับเป็นพ.ศ.2500 เร็วกว่าไทย 1 ปี) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ นอกจากนี้รัฐบาลประเทศอินเดียยังได้สร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ด้วย
สำหรับรัฐบาลไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ ด้วยการสร้างพุทธมณฑลเป็นอนุสรณ์สถาน ประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยกำหนดให้วันพระหรือวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2499) และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครบชุดฉบับแรก เป็นต้น
สำหรับการเฉลิมฉลองในระดับนานาชาตินั้น รัฐบาลพม่าได้เป็นเจ้าภาพในการจัด “ฉัฏฐสังคีติ” คือการสังคายนาพระไตรปิฎกระดับนานาชาติ โดยทางพม่านับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 6 แล้วได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ทั้งหลายขึ้นเป็นจำนวนมาก
สำหรับวาระสำคัญในปีปัจจุบันเนื่องในมหาธัมมาภิสมัย พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้นั้น ถ้าถือตามหลักการคำนวณปีพุทธศักราชแบบไทยอยู่ในช่วงระหว่าง วิสาขบูชา 2554 – วิสาขบูชา 2555 ทั้งนี้ ในวันวิสาขบูชา 2554 ที่ผ่านมานี้ (17 พ.ค.2554) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ 2599 ปีเต็ม และเริ่มเข้าสู่ปีที่ 2,600 แห่งการตรัสรู้ โดยคำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับหลังจากการปรินิพพาน บวกด้วย 45 อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน (สูตรการคำนวณ จำนวนปีการตรัสรู้ = ปี พ.ศ. 45) ดังนั้นในวันวิสาขบูชาปีพ.ศ.2555 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครบ 2,600 ปีบริบูรณ์ ในประเทศต่างๆ ที่มีชาวพุทธเข้มแข็งได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี (2553-2555) ดังเช่นในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดียเป็นต้นได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างตื่นตัวและยิ่งใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกาก็มีการจัดงานฉลองใหญ่ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดงานในระดับภาคประชาชนกว่า 2 ปีที่ผ่านมาในวงจำกัด ส่วนในระดับรัฐบาล สมควรที่รัฐบาลไทยจะประกาศให้มีการเฉลิมฉลองใหญ่ตลอดปีพุทธศักราช 2555 นี้ อย่างเป็นทางการ
ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว พุทธชยันตี หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ดับกิเลสและชนะมาร คือกิเลสหมดทั้งปวง เมื่อถึง ปี 2555 ก็เท่ากับ ครบ 2,600 ปีที่ตรัสรู้และดับกิเลส ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2600 เป็นปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 2600 ปี แต่เป็นปีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ชนะกิเลสทั้งปวง 2645 ปี ถ้าจะเรียก พุทธชยันตี ก็คือ ในปี 2600 ฉลองพุทธชยันตีที่พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสทั้งปวง ครบ 2645 ปี
ซึ่งโดยส่วนมาก การจัดฉลองพุทธชยันตี จะจัดขึ้นเมื่อตัวเลขบริบูรณ์ เช่น ครบ 2,600 ปี ที่ทรงตรัสรู้ดับกิเลส เมื่อปี พ.ศ. 2555 หรือครบพระพุทธศาสนา 2,500 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20198
โพสต์โดย : ประสบ สุระพินิจ
*************************************************************************************************************************************************************************************
ครม.อนุมัติงบฯ150ล้านบาท จัดกิจกรรมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี
นาย อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม. ว่า ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 150 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานและกิจกรรมในงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ตามที่สำนักพระพุทธศาสนาเสนอเพื่อจัดกิจกรรม ประกอบด้วย
1.การสัมมนาพุทธศาสนิกชนนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 54 ล้านบาท
2.สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวน 9 องค์ ฉลองพุทธชยันตี และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา จำนวน 30 ล้านบาท
3.งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี พิธีเททองหล่อพระ แห่พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น ณ ท้องสนามหลวง และศาสนกิจร่วมกับองค์กรพุทธอื่นๆ จำนวน 30 ล้านบาท
4.งานฉลองพุทธชยันตี ณ พุทธมณฑล และพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ จำนวน 16 ล้านบาท และ
5.การประชาสัมพันธ์งานพุทธชยันตี จำนวน 20 ล้านบาท
นอกจากนั้น ครม.ยังอนุมัติให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าร่วมโครงการอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติ 99 รูป ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก เพื่อฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 25 พ.ค.-8 มิ.ย. รวม 15 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเป็นกรณีพิเศษ
ที่มา : ข่าวสดรายวัน วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7829
---------WiZPark2600Buddha2600WiZPark2600Buddha2600 https://www.facebook.com/wizpark WiZPark2600Buddha2600WiZPark2600Buddha2600------------
====================================================================================================
1.การสัมมนาพุทธศาสนิกชนนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 54 ล้านบาท
2.สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวน 9 องค์ ฉลองพุทธชยันตี และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา จำนวน 30 ล้านบาท
3.งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี พิธีเททองหล่อพระ แห่พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น ณ ท้องสนามหลวง และศาสนกิจร่วมกับองค์กรพุทธอื่นๆ จำนวน 30 ล้านบาท
4.งานฉลองพุทธชยันตี ณ พุทธมณฑล และพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ จำนวน 16 ล้านบาท และ
5.การประชาสัมพันธ์งานพุทธชยันตี จำนวน 20 ล้านบาท
นอกจากนั้น ครม.ยังอนุมัติให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าร่วมโครงการอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติ 99 รูป ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก เพื่อฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 25 พ.ค.-8 มิ.ย. รวม 15 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลาเป็นกรณีพิเศษ
ที่มา : ข่าวสดรายวัน วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7829
---------WiZPark2600Buddha2600WiZPark2600Buddha2600 https://www.facebook.com/wizpark WiZPark2600Buddha2600WiZPark2600Buddha2600------------
====================================================================================================
มหาจุฬาฯ ประชุมร่วมสถานทูตศรีลังกาเตรียมการต้อนรับประธานาธิบดีศรีลังกา

เมื่อบ่ายวันนี้ (๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕) พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดีและประธานสมาคมวิสาขบูชาโลกพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ต้อนรับท่านทูต Ayaratna Banda Disanayaka เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศศรีลังกา ณ ห้อง ๔๐๑ สำนักงานอธิการบดี วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักต่างๆ ที่ทราบข่าวเข้ามาร่วมสัมภาษณ์เป็นจำนวนมาก
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการประชุมแบบ "ทวิภาคี" ครั้งนี้ เป็นการประชุมร่วมระหว่างมหาจุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย และสถานทูตศรีลังกา เพื่อเตรียมความพร้อม และซักซ้อมมาตรการในการต้อนรับประธานาธิบดี มหินทา ราชปักษา ซึ่งจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย เพื่อเข้าร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๙ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
สำหรับกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการเฉลิมฉลองในครั้งนี้ ในเบื้องต้นได้การกำหนดระยะเวลาเข้าร่วมพิธีอย่างไม่เป็นทางการทั้งสิ้น ๓ วัน คือ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม จนถึง ๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยกิจกรรมหลักนั้น จะร่วมพิธีการเฉลิมฉลองและกล่าวสุนทรพจน์ ณ UNCC ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าของวันที่ ๒ มิถุนายน โดยมีนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรให้การต้อนรับ และร่วมกล่าวสุนทรพจน์
ภายหลังที่เสร็จสิ้นการประชุม พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ได้นำคณะทูตไปเยี่ยมชมสถานที่สำหรับการจัดงานและเตรียมการต้อนรับประธานาธิบดีศรีลังกา และชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๕,๐๐๐ รูป/คน ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่จะเดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกอย่างยิ่งใหญ่ในปีนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการประชุมแบบ "ทวิภาคี" ครั้งนี้ เป็นการประชุมร่วมระหว่างมหาจุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย และสถานทูตศรีลังกา เพื่อเตรียมความพร้อม และซักซ้อมมาตรการในการต้อนรับประธานาธิบดี มหินทา ราชปักษา ซึ่งจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย เพื่อเข้าร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๙ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
สำหรับกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการเฉลิมฉลองในครั้งนี้ ในเบื้องต้นได้การกำหนดระยะเวลาเข้าร่วมพิธีอย่างไม่เป็นทางการทั้งสิ้น ๓ วัน คือ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม จนถึง ๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยกิจกรรมหลักนั้น จะร่วมพิธีการเฉลิมฉลองและกล่าวสุนทรพจน์ ณ UNCC ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าของวันที่ ๒ มิถุนายน โดยมีนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรให้การต้อนรับ และร่วมกล่าวสุนทรพจน์
ภายหลังที่เสร็จสิ้นการประชุม พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ได้นำคณะทูตไปเยี่ยมชมสถานที่สำหรับการจัดงานและเตรียมการต้อนรับประธานาธิบดีศรีลังกา และชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๕,๐๐๐ รูป/คน ทั้งไทยและต่างประเทศ ที่จะเดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกอย่างยิ่งใหญ่ในปีนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มจร.เตรียมฉลองใหญ่-พุทธชยันตี 2600ปี
พระ ธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะประธานกรรมการสมาคมวิสาขบูชาโลก เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลก ปี 2555 ณ สำนักงานอธิการบดี วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งผู้เข้าประชุมประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายต่างๆ อีกทั้งมีผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง และฝ่ายปฏิบัติการเข้าร่วมประชุมกว่า 80 รูป/คน ทั้งนี้ การจัดงานเฉลิมฉลองในปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะปีนี้เป็นปีพุทธชยันตีที่ครบรอบ 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ดังนั้น ในฐานะที่มหาจุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้ดำเนินการหลักในการจัดการกรรมการนานาชาติร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และภาคีอื่นๆ นั้น จึงขอให้ผู้บริหารทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ทุ่มเทแรงกายแรงใจร่วมกันเตรียม งานเพื่อต้อนรับชาวพุทธจากทั่วโลกที่จะเดินทางมาเฉลิมฉลองร่วมกับ พุทธศาสนิกชนชาวไทยอย่างสมเกียรติ?
พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการมหาจุฬาฯ ในฐานะเลขานุการของการประชุมเตรียมการจัดงานฯ กล่าวว่า สาระสำคัญในการประชุมวันนี้ประกอบด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสวัสดิการ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อภาระงานของฝ่ายต่างๆ ในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 9 ในระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย.2555 ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้เชิญชาวพุทธทั่วโลกเข้าร่วมเฉลิมฉลองตามมติของคณะกรรมการ นานาชาติกว่า 85 ประเทศ โดยมีจำนวนกว่า 5,000 รูป/คน
สำหรับกิจกรรม สำคัญในการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ประกอบด้วยพิธีการเฉลิมฉลองในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ สหประชาชาติ ราชดำเนินนอก การเจริญพระพุทธมนต์ และร่วมเวียนเทียน ณ พุทธมณฑล การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติของสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ การสัมมนาวิจัยนานาชาติ การประชุมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก และการแสดงศิลปวัฒนธรรมนานาชาติจาก 16 ประเทศ สำหรับรายละเอียดในการจัดงานนั้น สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-3524-8098
__________________________________________________________________________________________________________________________________
พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการมหาจุฬาฯ ในฐานะเลขานุการของการประชุมเตรียมการจัดงานฯ กล่าวว่า สาระสำคัญในการประชุมวันนี้ประกอบด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสวัสดิการ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อภาระงานของฝ่ายต่างๆ ในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 9 ในระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย.2555 ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการได้เชิญชาวพุทธทั่วโลกเข้าร่วมเฉลิมฉลองตามมติของคณะกรรมการ นานาชาติกว่า 85 ประเทศ โดยมีจำนวนกว่า 5,000 รูป/คน
สำหรับกิจกรรม สำคัญในการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ประกอบด้วยพิธีการเฉลิมฉลองในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ สหประชาชาติ ราชดำเนินนอก การเจริญพระพุทธมนต์ และร่วมเวียนเทียน ณ พุทธมณฑล การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติของสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ การสัมมนาวิจัยนานาชาติ การประชุมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก และการแสดงศิลปวัฒนธรรมนานาชาติจาก 16 ประเทศ สำหรับรายละเอียดในการจัดงานนั้น สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-3524-8098
__________________________________________________________________________________________________________________________________
รับสมัคร อาสาสมัครกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๕๕

ขอเชิญคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตอาสา เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อร่วมต้อนรับประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธและพุทธศาสนิกชนจากต่างประเทศที่จะเดินทางมาร่วมประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๙ “พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า” ระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑-๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕
สมัครด้วยตัวเองได้ที่ http://www.undv.org/vesak2012/th/volunteer_apply.php
หรือที่ คณะกรรมการฝ่ายปฏิคมต่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มจร. อยุธยา ห้อง D300 ชั้น ๓ โซน D อาคารเรียนรวม
มจร. วัดมหาธาตุ ห้อง 207 ขั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ ห้อง106 (ฝ่ายธรรมวิจัย)
ติดต่อสอบถามโทรศัพท์ ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๖๕, ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๗๑ ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๐๐ ต่อ ๘๔๒๘ ๐ ๒๒๒๕ ๘๖๘๖
_________________________________________________________________________________________________________________________________
สมัครด้วยตัวเองได้ที่ http://www.undv.org/vesak2012/th/volunteer_apply.php
หรือที่ คณะกรรมการฝ่ายปฏิคมต่างประเทศ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มจร. อยุธยา ห้อง D300 ชั้น ๓ โซน D อาคารเรียนรวม
มจร. วัดมหาธาตุ ห้อง 207 ขั้น 2 อาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ ห้อง106 (ฝ่ายธรรมวิจัย)
ติดต่อสอบถามโทรศัพท์ ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๖๕, ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๗๑ ๐ ๓๕๒๔ ๘๐๐๐ ต่อ ๘๔๒๘ ๐ ๒๒๒๕ ๘๖๘๖
_________________________________________________________________________________________________________________________________
อธิการบดีร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ณ ทำเนียบรัฐบาล
เมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี พร้อมด้วยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ชั้น ๕ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อพิจารณาแนวทางในการจัดทำธงสัญลักษณ์ ฉลองพุทธชยันตี และกรอบแผนงานการดำเนินงาน และโครงการต่างที่สัมพันธ์กัน
ในการประชุมครังนี้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ เป็นประธานการประชุม โดยมี สมเด็จพระวันรัต นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ศ.ดร.ธงทอง จันทรางสุ ปลัดประจำสำนักนายกฯ และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ เข้าร่วมกว่า ๘๐ รูป/คน ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ กล่าวว่า "ในฐานะพุทธศาสนิกชน และในนามของรัฐบาลไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นแกนหลักในการร่วมจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และสมเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำแสวงสว่างมาเป็นเครื่องชี้นำทางในการประพฤติปฏิบัติของมวลพุทธศาสนิกชน ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยจะถือโอกาสจัดงานทั้งในระดับจังหวัด ซึ่งมีทั้งผู้ว่า และอบจ. ระดับอำเภอ และระดับตำบล จะร่วมระดมสรรพกำลังพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศไทยจัดงานทั่วทั้งประเทศไทย และจะถือโอกาสนี้ เชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน"
ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ในฐานะประธานสมาคมวิสาขบูชาโลก กล่าวว่า "ในฐานะที่มหาจุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้ดำเนินการหลักในการจัดกิจกรรมนานาชาตินั้น จะถือโอกาสนี้ ในการเชิญชาวพุทธทั่วโลกมาร่วมจัดงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยจะมีพิธีเปิดในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม การสัมมนานานาชาติในวันที่ ๑ และพิธีปิด ณ สหประชาชาติ ราชดำเนิน ในช่วงเย็นจะเป็นการเวียนเทียน และสวดมนต์ร่วมกัน ณ พุทธมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก"
อนึ่ง สำหรับความก้าวหน้าในการเตรียมการจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานในส่วนของมหาจุฬาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการร่วมประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ สำนักงานอธิการบดี ห้อง ๔๐๑ ในขณะที่ฝ่ายเลขานุการได้ส่งหนังสือเชิญชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๘๗ ประเทศแล้ว ซึ่งมีจำนวนพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกกว่า ๑๗๐๐ รูป/คน เตรียมเดินทางมาร่วมเฉลิมฉลอง ณ ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ถึง ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕
________________________________________________________________________________________________________________________________
ในการประชุมครังนี้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯ เป็นประธานการประชุม โดยมี สมเด็จพระวันรัต นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ศ.ดร.ธงทอง จันทรางสุ ปลัดประจำสำนักนายกฯ และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ เข้าร่วมกว่า ๘๐ รูป/คน ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ กล่าวว่า "ในฐานะพุทธศาสนิกชน และในนามของรัฐบาลไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นแกนหลักในการร่วมจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และสมเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำแสวงสว่างมาเป็นเครื่องชี้นำทางในการประพฤติปฏิบัติของมวลพุทธศาสนิกชน ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยจะถือโอกาสจัดงานทั้งในระดับจังหวัด ซึ่งมีทั้งผู้ว่า และอบจ. ระดับอำเภอ และระดับตำบล จะร่วมระดมสรรพกำลังพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศไทยจัดงานทั่วทั้งประเทศไทย และจะถือโอกาสนี้ เชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน"
ในขณะที่พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ในฐานะประธานสมาคมวิสาขบูชาโลก กล่าวว่า "ในฐานะที่มหาจุฬาฯ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้ดำเนินการหลักในการจัดกิจกรรมนานาชาตินั้น จะถือโอกาสนี้ ในการเชิญชาวพุทธทั่วโลกมาร่วมจัดงานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยจะมีพิธีเปิดในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม การสัมมนานานาชาติในวันที่ ๑ และพิธีปิด ณ สหประชาชาติ ราชดำเนิน ในช่วงเย็นจะเป็นการเวียนเทียน และสวดมนต์ร่วมกัน ณ พุทธมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก"
อนึ่ง สำหรับความก้าวหน้าในการเตรียมการจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานในส่วนของมหาจุฬาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการร่วมประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ สำนักงานอธิการบดี ห้อง ๔๐๑ ในขณะที่ฝ่ายเลขานุการได้ส่งหนังสือเชิญชาวพุทธทั่วโลกกว่า ๘๗ ประเทศแล้ว ซึ่งมีจำนวนพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกกว่า ๑๗๐๐ รูป/คน เตรียมเดินทางมาร่วมเฉลิมฉลอง ณ ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ถึง ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕
________________________________________________________________________________________________________________________________
การเดินทางไม่ใช่อุปสรรค

พระภาณุวิชญ์ อโสโก มอบ ดีวีดีให้ WIZPARK โดยมีนายประสบ สุระพินิจ ผู้รับมอบ
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา -แม้อากาศจะแปรปรวนมีฝนตกบ้างระหว่างเดินทาง แต่ไม่ใช่อุปสรรคในศรัทธาอันแรงกล้า ของพระอาจารย์ภาณุวิชญ์ อโสโก "การท้าทายกับอุปสรรคอันเล็กน้อยเหล่านี้มิใช่ปัญหาที่จะมาหยุดยั้งแรงศรัทธาของอาตมาได้ เพราะเป็นการฝึกจิตใต้สำนึกให้เป็นความเคยชินกับการเอาชนะอุปสรรค
เล็กๆ น้อยๆ " ท่านภาณุวิชญ์กล่าว
รายงานโดย: ประสบ สุระพินิจ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Buddhists on Makha Bucha Day

BANGKOK, March 7, 2012(B.E. 2555) - Buddhists across Thailand on Wednesday celebrated Makha Bucha Day, with merit making and observing religious rites.
About one thousand Buddhist residents in the restive southern province of Yala gathered at a temple in the provincial seat early in the morning to perform merit making and offer food to monks amid tight security.
Songkhla residents also attended a similar gathering in their province, praying for His Majesty the King and peace in the violence-plagued three southern border provinces.
People in the North and Northeast also went to their temples to perform religious rites, with varied related activities being held in each province.
Makha Bucha Day is an occasion of important Buddhist religious observance, a remembrance of an event which occurred nine months after the Enlightenment of the Buddha.
On the full-moon day some 2,600 years ago, 1,250 arahata, or the Enlightened monks ordained by the Buddha, assembled to hear the important teaching of the Buddha without any schedule. The teaching is the principles of the Buddhism -- To cease from all evil -- To do what is good -- To cleanse one's mind.
Makha Bucha day is a public holiday for Thai people. Apart from the merit making in the morning, the Buddhists usually attend a Candle Light Procession in the temple near their homes in the evening.
Meanwhile, the deputy director of the National Office of Buddhism, Kanok Saenprasert, reported Wednesday that he estimated that the number of younger Thais visiting temples to perform merit making and other religious rites has doubled in recent years.
Mr Kanok said the higher number was attributed to the teaching of Buddhism by family members and by Buddhist teaching in schools and temples which has been adjusted to be more accessible, fun and relaxing for younger people.
Frome : MCOT online news
Prasop Surapinit
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
About one thousand Buddhist residents in the restive southern province of Yala gathered at a temple in the provincial seat early in the morning to perform merit making and offer food to monks amid tight security.
Songkhla residents also attended a similar gathering in their province, praying for His Majesty the King and peace in the violence-plagued three southern border provinces.
People in the North and Northeast also went to their temples to perform religious rites, with varied related activities being held in each province.
Makha Bucha Day is an occasion of important Buddhist religious observance, a remembrance of an event which occurred nine months after the Enlightenment of the Buddha.
On the full-moon day some 2,600 years ago, 1,250 arahata, or the Enlightened monks ordained by the Buddha, assembled to hear the important teaching of the Buddha without any schedule. The teaching is the principles of the Buddhism -- To cease from all evil -- To do what is good -- To cleanse one's mind.
Makha Bucha day is a public holiday for Thai people. Apart from the merit making in the morning, the Buddhists usually attend a Candle Light Procession in the temple near their homes in the evening.
Meanwhile, the deputy director of the National Office of Buddhism, Kanok Saenprasert, reported Wednesday that he estimated that the number of younger Thais visiting temples to perform merit making and other religious rites has doubled in recent years.
Mr Kanok said the higher number was attributed to the teaching of Buddhism by family members and by Buddhist teaching in schools and temples which has been adjusted to be more accessible, fun and relaxing for younger people.
Frome : MCOT online news
Prasop Surapinit
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Makha Bucha Day

Māgha Pūjā or Makha Bucha (Thai: มาฆบูชา) is an important Buddhist festival celebrated in Thailand, Cambodia, and Laos on the full moon day of the third lunar month (this usually falls in February). The third lunar month is known in the Thai language as Makha (Pali: Māgha); Bucha is also a Thai word (Pali: Pūjā), meaning "to venerate" or "to honor". As such, Makha Bucha Day is for the veneration of Buddha and his teachings on the full moon day of the third lunar month.
The spiritual aims of the day are: not to commit any kind of sins; do only good; purify one's mind.
Māgha Pūjā is a public holiday in Thailand, Laos and Cambodia - and is an occasion when Buddhists tend to go to the temple to perform merit-making activities.
Origin of Māgha Pūjā Day
Māgha Pūjā day marks the four auspicious occasions, which happened nine months after the Enlightenment of the Buddha at Veḷuvana Bamboo Grove, near Rājagaha in Northern India. On that occasion, as recorded in the commentary to the Mahāsamayasutta, DN-Comm 20) four marvellous events occurred
There were 1,250 Arahata, that came to see the Buddha that evening without any schedule. All of them were Arhantas, the Enlightened One, and all of them were ordained by the Buddha himself. The Buddha gave those Arhantas principles of the Buddhism, called "The ovadhapatimokha". Those principles are: - To cease from all evil,- To do what is good,- To cleanse one's mind; it was the full-moon day.
The Buddha gave an important teaching to the assembled monks on that day 2,500 years ago called the 'Ovādapātimokha'[1] which laid down the principles of the Buddhist teachings. In Thailand, this teaching has been dubbed the 'Heart of Buddhism
Activities to be observed on Māgha Pūjā DayIn the evening of Magha full-moon day, each temple in Thailand holds a candlelight procession called a wian tian (wian meaning circle; tian meaning candle). Holding flowers, incense and a lighted candle, the monks and congregation members circumambulate clockwise three times around the Uposatha Hall - once for each of the Three Jewels – the Buddha, the Dharma, and the Sangha.
- Tum Boon: Making merit by going to temples for special observances and join in the other Buddhist activities.
- Rub Sil': Keeping the Five Precepts. Practise of renunciation: Observe the Eight Precepts, practise of meditation and mental discipline, stay in the temple, wearing white robes, for a number of days.
Information by: Wikipedia
BMA launches Makha Bucha celebrations
The Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has joined forces with the Council of Buddhist Organisations of Thailand and other related agencies to host Makha Bucha Day celebrations in Bangkok's Sanam Luang from Wednesday to March 7.
BMA clerk Thaveesak Detdecho told the press Wednesday that apart from the many merit-making events, Bangkok's 50 district offices would campaign for people to refrain from vice. The celebrations will wrap up with alms being offered to 86 monks as well as a candle procession at a temple, which has yet to be decided upon.
Apart from this, alms will offered every weekend from March 10 to 25 with the aim of serving up to a million monks to mark the 2,600th anniversary of Buddha's enlightenment, Thaveesak added. From: The Nation (February 29, 2012)
Prasop Surapinit : post
******************************* @ ***********************************
The spiritual aims of the day are: not to commit any kind of sins; do only good; purify one's mind.
Māgha Pūjā is a public holiday in Thailand, Laos and Cambodia - and is an occasion when Buddhists tend to go to the temple to perform merit-making activities.
Origin of Māgha Pūjā Day
Māgha Pūjā day marks the four auspicious occasions, which happened nine months after the Enlightenment of the Buddha at Veḷuvana Bamboo Grove, near Rājagaha in Northern India. On that occasion, as recorded in the commentary to the Mahāsamayasutta, DN-Comm 20) four marvellous events occurred
There were 1,250 Arahata, that came to see the Buddha that evening without any schedule. All of them were Arhantas, the Enlightened One, and all of them were ordained by the Buddha himself. The Buddha gave those Arhantas principles of the Buddhism, called "The ovadhapatimokha". Those principles are: - To cease from all evil,- To do what is good,- To cleanse one's mind; it was the full-moon day.
The Buddha gave an important teaching to the assembled monks on that day 2,500 years ago called the 'Ovādapātimokha'[1] which laid down the principles of the Buddhist teachings. In Thailand, this teaching has been dubbed the 'Heart of Buddhism
Activities to be observed on Māgha Pūjā DayIn the evening of Magha full-moon day, each temple in Thailand holds a candlelight procession called a wian tian (wian meaning circle; tian meaning candle). Holding flowers, incense and a lighted candle, the monks and congregation members circumambulate clockwise three times around the Uposatha Hall - once for each of the Three Jewels – the Buddha, the Dharma, and the Sangha.
- Tum Boon: Making merit by going to temples for special observances and join in the other Buddhist activities.
- Rub Sil': Keeping the Five Precepts. Practise of renunciation: Observe the Eight Precepts, practise of meditation and mental discipline, stay in the temple, wearing white robes, for a number of days.
Information by: Wikipedia
BMA launches Makha Bucha celebrations
The Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has joined forces with the Council of Buddhist Organisations of Thailand and other related agencies to host Makha Bucha Day celebrations in Bangkok's Sanam Luang from Wednesday to March 7.
BMA clerk Thaveesak Detdecho told the press Wednesday that apart from the many merit-making events, Bangkok's 50 district offices would campaign for people to refrain from vice. The celebrations will wrap up with alms being offered to 86 monks as well as a candle procession at a temple, which has yet to be decided upon.
Apart from this, alms will offered every weekend from March 10 to 25 with the aim of serving up to a million monks to mark the 2,600th anniversary of Buddha's enlightenment, Thaveesak added. From: The Nation (February 29, 2012)
Prasop Surapinit : post
******************************* @ ***********************************
การให้คือความสุข

ประสบ สุระพินิจ รับมอบสื่อภาษาจากพระภาณุวิชญ์ อโสโก
20 กุมภาพันธ์ 2555 ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม wizpark เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เป็นกำลังช่วยส่งเสริมพัฒนาทางด้านภาษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป โดยเป้าหมายที่คาดหวังไว้คือการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน การทำบุญด้วยสื่อภาษาส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมทักษะภาษา เพิ่มพูนความรู้ซึ่งเป็นแสงแห่งปัญญา
"ผมรู้สึกมีความสุขที่ได้ "ให้" เพราะผมเชื่อมั่นว่า การให้ จะเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งผู้รับ
และผู้ให้มีความสุข สำหรับผมแล้ว "การให้" ที่ก่อให้เกิดสุข ต้องให้ด้วยใจยินดี ให้อย่างไม่ลำเอียงให้ด้วยความสมัครใจให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นการให้ที่ มีคุณค่า" พระภาณุวิชญ์กล่าว
ห้องสมุด WIZPARK ขอขอบพระคุณท่านภาณุวิชญ์ที่มีส่วนทำให้สื่อการเรียนภาษามีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมท่านผู้นี้ยังแวะเวียนมาให้กำลังใจในฐานะศิษย์เก่า มจร. อย่างสม่ำเสมอ จึงขออนุโมทนาในกุศลครั้งนี้ด้วยครับ
ประสบ สุระพินิจ รายงาน
______________________________________________________________________________________________________
"ผมรู้สึกมีความสุขที่ได้ "ให้" เพราะผมเชื่อมั่นว่า การให้ จะเป็นเหตุที่ทำให้ทั้งผู้รับ
และผู้ให้มีความสุข สำหรับผมแล้ว "การให้" ที่ก่อให้เกิดสุข ต้องให้ด้วยใจยินดี ให้อย่างไม่ลำเอียงให้ด้วยความสมัครใจให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นการให้ที่ มีคุณค่า" พระภาณุวิชญ์กล่าว
ห้องสมุด WIZPARK ขอขอบพระคุณท่านภาณุวิชญ์ที่มีส่วนทำให้สื่อการเรียนภาษามีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมท่านผู้นี้ยังแวะเวียนมาให้กำลังใจในฐานะศิษย์เก่า มจร. อย่างสม่ำเสมอ จึงขออนุโมทนาในกุศลครั้งนี้ด้วยครับ
ประสบ สุระพินิจ รายงาน
______________________________________________________________________________________________________
Buddhism in Thailand

Post by : Prasop Surapinit
Buddhism in Thailand is largely of the Theravada school. Nearly 95% of Thailand's population is Buddhist of the Theravada school, though Buddhism in this country has become integrated with folk beliefs as well as Chinese religions from the large Thai-Chinese population.[1] Buddhist temples in Thailand are characterized by tall golden stupas, and the Buddhist architecture of Thailand is similar to that in other Southeast Asian countries, particularly Cambodia and Laos, with which Thailand shares cultural and historical heritage
Thai Buddhism was based on the religious movement founded in the sixth century B.C. by Siddhartha, later known as the Buddha, who urged the world to relinquish the extremes of sensuality and self-mortification and follow the enlightened Middle Way. The focus of this religion is on man, not gods; the assumption is that life is pain or suffering, which is a consequence of craving, and that suffering can end only if desire ceases. The end of suffering is the achievement of nirvana (in Theravada Buddhist scriptures, nibbana), often defined as the absence of craving and therefore of suffering, sometimes as enlightenment or bliss.[2]
By the third century B.C., Buddhism had spread widely in Asia, and divergent interpretations of the Buddha's teachings had led to the establishment of several sects. The teachings that reached Ceylon (present-day Sri Lanka) were first written down in Pali (an Indo-Aryan language closely related to Sanskrit) in the first century A.D. and provided the Tipitaka (the scriptures or "three baskets"; in Sanskrit, Tripitaka) of Theravada Buddhism. This form of Buddhism was made the state religion only with the establishment of the Thai kingdom of Sukhothai in the thirteenth century A.D.[2] According to many historians, around 228 B.C. Sohn Uttar Sthavira (one of the royal monks sent by Ashoka the Great) came to Suvarnabhumi (or Suvannabhumi) which some identify with Thailand along with other monks and sacred books.
Information : Wikipedia
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Buddhism in Thailand is largely of the Theravada school. Nearly 95% of Thailand's population is Buddhist of the Theravada school, though Buddhism in this country has become integrated with folk beliefs as well as Chinese religions from the large Thai-Chinese population.[1] Buddhist temples in Thailand are characterized by tall golden stupas, and the Buddhist architecture of Thailand is similar to that in other Southeast Asian countries, particularly Cambodia and Laos, with which Thailand shares cultural and historical heritage
Thai Buddhism was based on the religious movement founded in the sixth century B.C. by Siddhartha, later known as the Buddha, who urged the world to relinquish the extremes of sensuality and self-mortification and follow the enlightened Middle Way. The focus of this religion is on man, not gods; the assumption is that life is pain or suffering, which is a consequence of craving, and that suffering can end only if desire ceases. The end of suffering is the achievement of nirvana (in Theravada Buddhist scriptures, nibbana), often defined as the absence of craving and therefore of suffering, sometimes as enlightenment or bliss.[2]
By the third century B.C., Buddhism had spread widely in Asia, and divergent interpretations of the Buddha's teachings had led to the establishment of several sects. The teachings that reached Ceylon (present-day Sri Lanka) were first written down in Pali (an Indo-Aryan language closely related to Sanskrit) in the first century A.D. and provided the Tipitaka (the scriptures or "three baskets"; in Sanskrit, Tripitaka) of Theravada Buddhism. This form of Buddhism was made the state religion only with the establishment of the Thai kingdom of Sukhothai in the thirteenth century A.D.[2] According to many historians, around 228 B.C. Sohn Uttar Sthavira (one of the royal monks sent by Ashoka the Great) came to Suvarnabhumi (or Suvannabhumi) which some identify with Thailand along with other monks and sacred books.
Information : Wikipedia
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความสุขของผู้ให้

25 มกราคม 2555 พระอาจารย์ภาณุวิชญ์ อโสโก (เริงรื่น) จากวัดเทวีวรญาติ ได้มอบดีวีดีให้
Wizpark โดยมี ประสบ สุระพินิจ เป็นผู้รับมอบ แม้การเดินทางมาที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย วังน้อย จะยากลำบากสักนิด ปกติจะใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่
วันนี้ใช้เวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่ประการใด เพราะท่านมีจิตที่เป็นกุศล
"ช่างไม้ ย่อมถากไม้ให้ตรงได้
ช่างศร ย่อมถากศรให้ตรงได้ฉันใด
ผู้มีปัญญา ย่อมยังกุศลจิตให้เกิดขึ้นได้เสมอ
แม้จะอยู่ในอารมณ์ใดก็ตาม"
มีพระพุทธพจน์อันหนึ่งตรัสไว้ว่า
"จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต"
โดยเฉพาะกุศลมานะจิตที่ท่านภาณุวิชญ์ มีให้กับรุ่นน้องใน มจร.
"สิ่งที่ท่านทำคือความดี สิ่งที่ท่านมีคือความอดทน"
ขออนุโมทนาบุญกุศลที่ท่านได้สร้างไว้ในครั้งนี้ด้วยครับ
ประสบ สุระพินิจ
(WIZPARK Librarian)
________________________________________________________________________________________________________________________________
Wizpark โดยมี ประสบ สุระพินิจ เป็นผู้รับมอบ แม้การเดินทางมาที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย วังน้อย จะยากลำบากสักนิด ปกติจะใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่
วันนี้ใช้เวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่ประการใด เพราะท่านมีจิตที่เป็นกุศล
"ช่างไม้ ย่อมถากไม้ให้ตรงได้
ช่างศร ย่อมถากศรให้ตรงได้ฉันใด
ผู้มีปัญญา ย่อมยังกุศลจิตให้เกิดขึ้นได้เสมอ
แม้จะอยู่ในอารมณ์ใดก็ตาม"
มีพระพุทธพจน์อันหนึ่งตรัสไว้ว่า
"จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิต"
โดยเฉพาะกุศลมานะจิตที่ท่านภาณุวิชญ์ มีให้กับรุ่นน้องใน มจร.
"สิ่งที่ท่านทำคือความดี สิ่งที่ท่านมีคือความอดทน"
ขออนุโมทนาบุญกุศลที่ท่านได้สร้างไว้ในครั้งนี้ด้วยครับ
ประสบ สุระพินิจ
(WIZPARK Librarian)
________________________________________________________________________________________________________________________________
แบ่งปันวัฒนธรรมไต-ไทย

นายประสบ สุระพินิจ รับมอบหนังสือและดีวีดีจากพระตืนเลง เตชะวันตา
เมื่อวันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา หลวงพี่ตืนเลง เตชะวันตา (Ven. Tuen Leng Tejawanta) ชาวไทใหญ่ ผู้มาศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คณะมนุษยศาสตร์ ได้มอบหนังสือเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของคนไต และ
ดีวีดีดนตรีพื้นถิ่นของชาวไทใหญ่ให้ห้องสมุดศูนย์ภาษา มจร (wizpark) โดยมีนายประสบ สุระพินิจ ผู้รับมอบ เพื่อการแบ่งปันสาระทางด้านภาษาและวัฒนธรรมและเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจวัฒนธรรมและภาษาของชาวไทใหญ่ ต่อไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริจาคสื่อฝึกทักษะภาษา

พระภาณุวิชญ์ อโสโก (เริงรื่น)มอบดีวีดีภาพยนตร์ให้ WIZPARK
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 พระอาจารย์ภาณุวิชญ์ อโสโก (เริงรื่น) จากวัดเทวีวรญาติ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้องปราบศัตรูพ่าย กทม.ได้บริจาคดีวีดีภาพยนตร์เพื่อเป็นสื่อฝึกทักษะภาษาให้แก่ห้องสมุดสถาบันภาษา(wizpark) กว่า 30 เรื่อง โดยมีนายประสบ สุระพินิจ เป็นผู้รับมอบ
**********************************************************************************************
ขอให้...สิ่งดี บังเกิดมีในชีวิต ขอให้ท่าน ภาณุวิชญ์นิมิตดี สำเร็จสม
ขอให้ท่าน "เริงรื่น" ชื่นภิรมย์ ขอให้ท่านได้รับชื่นชมความดีงาม
ขอให้ท่านอยู่ดีอย่างมีสุข จงไร้ทุกข์ มีสุข ทุกสมัย
มีความฝันความดีที่พร่างพราย สุขภาพร่างกายแข็งแรง...เพื่อแสงธรรม
ประสบ สุระพินิจ
*********************************************************************************
___________________________________________________________________________________________
**********************************************************************************************
ขอให้...สิ่งดี บังเกิดมีในชีวิต ขอให้ท่าน ภาณุวิชญ์นิมิตดี สำเร็จสม
ขอให้ท่าน "เริงรื่น" ชื่นภิรมย์ ขอให้ท่านได้รับชื่นชมความดีงาม
ขอให้ท่านอยู่ดีอย่างมีสุข จงไร้ทุกข์ มีสุข ทุกสมัย
มีความฝันความดีที่พร่างพราย สุขภาพร่างกายแข็งแรง...เพื่อแสงธรรม
ประสบ สุระพินิจ
*********************************************************************************
___________________________________________________________________________________________
New Year Celebration Prayers as a Tribute to His Majesty the King

New Year Celebration Prayers as a Tribute to His Majesty the King
The public has been invited to join Buddhist prayers at various temples across Thailand in celebration of the New Year 2012 and as a tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej.
In Bangkok, Sanam Luang ceremonial ground will be the focal point for the prayers, aimed at boosting the morale of the people after the country has faced the worst flooding in its recent history.
The Bangkok Metropolitan Administration and the Thai Health Promotion Foundation are joining hands in organizing this religious activity from 4:00 p.m. on Saturday, 31 December 2011 to 1:00 a.m. on Sunday, 1 January 2012.
The Deputy Bangkok Governor, Mrs. Taya Teepsuwan, said that the year 2011 marked two important occasions: the celebrations of His Majesty the King’s 84th birthday anniversary and the 2600 years of the Buddha's enlightenment and propagation of Dhamma teachings. People have been urged to take this opportunity to make merit for His Majesty the King, who is recognized as a model of a Dhammaraja, or the king of righteousness, strictly upholding Buddhist principles.
Meanwhile, His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, the Supreme Patriarch of Thailand, in his New Year message, called on the people to learn and adopt the Buddha’s teachings to lead their daily life in peace and happiness.
The Mahathera Samakhom, or the Sangha Supreme Council, during its recent meeting, called on all Buddhist temples, both in Thailand and overseas, to arrange New Year celebration prayers. It urged Thai people to perform good deeds and chant prayers, as a means of post-flood mental rehabilitation to bring about spiritual happiness. They have also been urged to refrain from all vices, such as alcohol and drug abuse, which may lead to social ills.
The wat, or Buddhist temple, is the focal point of the rural village, symbolizing the Buddhist religion and also acting as the major unifying element, particularly during festivals and merit-making ceremonies. In the past, it was a social center for young and old alike. Even now, abbots and senior monks frequently enjoy more prestige and have more power of moral persuasion than the village head. In times of personal crisis, they are often the first people whose advice is sought.
There are over 31,200 Buddhist temples spread around Thailand. The number of Thai temples abroad is more than 300. The wat serves as not only a spiritual center and a recreational center of the community, but also a learning center for local wisdom.
The Government would host activities to The United Nations Day of VESAK 2012 and celebrate the 2,600th anniversary of 'The Buddha’s Enlightenment for the well-being of Humanity' throughout the month of May 31 - June 2, 2012.
Reference : PRD
Post by : Prasop Surapinit
____________________________________________________________________________________________________
The public has been invited to join Buddhist prayers at various temples across Thailand in celebration of the New Year 2012 and as a tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej.
In Bangkok, Sanam Luang ceremonial ground will be the focal point for the prayers, aimed at boosting the morale of the people after the country has faced the worst flooding in its recent history.
The Bangkok Metropolitan Administration and the Thai Health Promotion Foundation are joining hands in organizing this religious activity from 4:00 p.m. on Saturday, 31 December 2011 to 1:00 a.m. on Sunday, 1 January 2012.
The Deputy Bangkok Governor, Mrs. Taya Teepsuwan, said that the year 2011 marked two important occasions: the celebrations of His Majesty the King’s 84th birthday anniversary and the 2600 years of the Buddha's enlightenment and propagation of Dhamma teachings. People have been urged to take this opportunity to make merit for His Majesty the King, who is recognized as a model of a Dhammaraja, or the king of righteousness, strictly upholding Buddhist principles.
Meanwhile, His Holiness Somdet Phra Nyanasamvara, the Supreme Patriarch of Thailand, in his New Year message, called on the people to learn and adopt the Buddha’s teachings to lead their daily life in peace and happiness.
The Mahathera Samakhom, or the Sangha Supreme Council, during its recent meeting, called on all Buddhist temples, both in Thailand and overseas, to arrange New Year celebration prayers. It urged Thai people to perform good deeds and chant prayers, as a means of post-flood mental rehabilitation to bring about spiritual happiness. They have also been urged to refrain from all vices, such as alcohol and drug abuse, which may lead to social ills.
The wat, or Buddhist temple, is the focal point of the rural village, symbolizing the Buddhist religion and also acting as the major unifying element, particularly during festivals and merit-making ceremonies. In the past, it was a social center for young and old alike. Even now, abbots and senior monks frequently enjoy more prestige and have more power of moral persuasion than the village head. In times of personal crisis, they are often the first people whose advice is sought.
There are over 31,200 Buddhist temples spread around Thailand. The number of Thai temples abroad is more than 300. The wat serves as not only a spiritual center and a recreational center of the community, but also a learning center for local wisdom.
The Government would host activities to The United Nations Day of VESAK 2012 and celebrate the 2,600th anniversary of 'The Buddha’s Enlightenment for the well-being of Humanity' throughout the month of May 31 - June 2, 2012.
Reference : PRD
Post by : Prasop Surapinit
____________________________________________________________________________________________________
KU-Cengage ต้นกล้านักธุรกิจกับจิตอาสา

เมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา
KU-Cengage-MCU CSR Day เป็นความร่วมมือระหว่าง Cengage Publishing ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ระดับโลกกับ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ ได้นำนิสิตที่เรียน
วิชาธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 57 คนทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมโดยการบริจาค
หนังสือจำนวน 105 ชื่อเรื่อง รวม 232 เล่ม ให้กับห้องสมุดสถาบันภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
(WIZPARK) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาหรรษา ธมมฺหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับมอบ ณ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาหรรษา ธมมฺหาโส ได้บรรยายและสอนให้นิสิตฝึกนั่งสมาธิ หลังจาก
นั้นก็ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการจัดหนังสือวันวิสาขบูชาที่จะนำส่ง แยกกระดาษรีไซเคิล ทำความสะอาด
สถานที่ และจัดระเบียบห้องเก็บของ นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ไปเยี่ยมชมโบสถ์กลางน้ำ ชมภาพจิตรกรรม
ฝาผนังและกิจการของมหาวิทยาลัยฯ และในช่วงบ่ายยังได้ไปเยี่ยมชมวัดใหญ่ชัยมงคลก่อนจะกลับกรุงเทพมหานคร
ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมครั้งนี้ เพื่อให้นิสิตมีจิตอาสาพัฒนาชีวิตด้วยประสบการณ์จริงและประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฏี
จาก CSR ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ซึ่งจะทำให้นิสิตได้เข้าใจถึงปรัชญาและแนวคิด CSR ที่จำเป็นแก่ธุรกิจและสังคมและนำไปใช้เมื่อสำเร็จการ
ศึกษาต่อไป
KU-Cengage-MCU CSR Day เป็นความร่วมมือระหว่าง Cengage Publishing ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ระดับโลกกับ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ ได้นำนิสิตที่เรียน
วิชาธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 57 คนทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมโดยการบริจาค
หนังสือจำนวน 105 ชื่อเรื่อง รวม 232 เล่ม ให้กับห้องสมุดสถาบันภาษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
(WIZPARK) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาหรรษา ธมมฺหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับมอบ ณ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พระมหาหรรษา ธมมฺหาโส ได้บรรยายและสอนให้นิสิตฝึกนั่งสมาธิ หลังจาก
นั้นก็ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการจัดหนังสือวันวิสาขบูชาที่จะนำส่ง แยกกระดาษรีไซเคิล ทำความสะอาด
สถานที่ และจัดระเบียบห้องเก็บของ นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ไปเยี่ยมชมโบสถ์กลางน้ำ ชมภาพจิตรกรรม
ฝาผนังและกิจการของมหาวิทยาลัยฯ และในช่วงบ่ายยังได้ไปเยี่ยมชมวัดใหญ่ชัยมงคลก่อนจะกลับกรุงเทพมหานคร
ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมครั้งนี้ เพื่อให้นิสิตมีจิตอาสาพัฒนาชีวิตด้วยประสบการณ์จริงและประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฏี
จาก CSR ในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ซึ่งจะทำให้นิสิตได้เข้าใจถึงปรัชญาและแนวคิด CSR ที่จำเป็นแก่ธุรกิจและสังคมและนำไปใช้เมื่อสำเร็จการ
ศึกษาต่อไป
___________________________________________________________________
ปริจาคะเสียสละเพื่อส่วนรวม

พระภาณุวิชญ์ อโสโก บริจาคดีวีดีให้ห้องสมุดสถาบันภาษา มจร.(WIZPARK)
เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมาพระอาจารย์ภาณุวิทย์ อโศโก บริจาคภาพยนตร์ดีวีดี ให้แก่ห้องสมุดสถาบันภาษา มจร. (wizpark) เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ทางด้านภาษาให้แก่นิสิต ผู้สนใจไฝ่รู้ทั่วไป
นับแต่พระอาจารย์ได้บริจาคดีวีดีภาพยนตร์มาเป็นระยะเวลาครบ 1 ปี มีทั้ง ซีดี ดีวีดี สารคีธรรมะอื่นๆ รวมแล้ว กว่า 200 เรื่อง โดยท่านเคยกล่าวไว้ว่า "การศึกษาทางด้านภาษา ต้องตาดูหูฟัง" ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของห้องสมุดสถาบันภาษาแห่งนี้กล่าวคือ "ธรรมะจรรโลงจิต วิชพาร์คจรรโลงปัญญา" "ดูหนังฟังภาษาได้ปัญญาพร้อมบันเทิง"
การที่ท่านจะเวียนบริจาคมาเป็นเวลานานนับปีได้ก็เพราะท่านผู้มั่ง "มี" คือ
๑ มีศรัทธา เชื่อมั่นใน หลักการเรียนภาษาต่างประเทศ
๒ มีวิริยะ จึงมีความพยายามจัดหานำมาเอง บริจาคถึง วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
๓ มีปัญญา พิจารณาจึงเห็นประโยชน์ที่อันจะเกิดจากตาดูหูฟัง
จึงขออนุโมทนาบุญกุศลในครั้งนี้ด้วย
การบริจาคความรู้ หนังสือ หรือสื่อการเรียนต่างๆ อานิสงส์ ทำให้มีสติปัญญาดี ฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม (www.palungjit.com)
_______________________________________________________________________________________
นับแต่พระอาจารย์ได้บริจาคดีวีดีภาพยนตร์มาเป็นระยะเวลาครบ 1 ปี มีทั้ง ซีดี ดีวีดี สารคีธรรมะอื่นๆ รวมแล้ว กว่า 200 เรื่อง โดยท่านเคยกล่าวไว้ว่า "การศึกษาทางด้านภาษา ต้องตาดูหูฟัง" ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของห้องสมุดสถาบันภาษาแห่งนี้กล่าวคือ "ธรรมะจรรโลงจิต วิชพาร์คจรรโลงปัญญา" "ดูหนังฟังภาษาได้ปัญญาพร้อมบันเทิง"
การที่ท่านจะเวียนบริจาคมาเป็นเวลานานนับปีได้ก็เพราะท่านผู้มั่ง "มี" คือ
๑ มีศรัทธา เชื่อมั่นใน หลักการเรียนภาษาต่างประเทศ
๒ มีวิริยะ จึงมีความพยายามจัดหานำมาเอง บริจาคถึง วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
๓ มีปัญญา พิจารณาจึงเห็นประโยชน์ที่อันจะเกิดจากตาดูหูฟัง
จึงขออนุโมทนาบุญกุศลในครั้งนี้ด้วย
การบริจาคความรู้ หนังสือ หรือสื่อการเรียนต่างๆ อานิสงส์ ทำให้มีสติปัญญาดี ฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม (www.palungjit.com)
_______________________________________________________________________________________
ภาพเป็นข่าว

เมื่อวันที่16 สิงหาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา ผู้บริหาร คณาจารย์
จาก มจร. สุราษฎร์ธานี โดยพระมหาขนบ สหายปญฺโญ รองประธานบริหาร
มจร.สฏ.ให้เกียรติเยี่ยมชมห้องสมุดสถาบันภาษา (wizpark)
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จาก มจร. สุราษฎร์ธานี โดยพระมหาขนบ สหายปญฺโญ รองประธานบริหาร
มจร.สฏ.ให้เกียรติเยี่ยมชมห้องสมุดสถาบันภาษา (wizpark)
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา